วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

            Goldfish Story




ปลาทอง มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นรู้จักผสมพันธ์ปลาทองมานานแล้วและได้ปลาทองลูกผสมที่น่าสนใจ มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว แม้กระทั่งปลาทองสารพัดสีในตัวเดียวกัน ปลาทองมีชีวิตอยู่ตามแหล่งธรรมชาติจนกระทั่งมีชาวจีนบางคน ได้จับมาเลี้ยงตามบ่อเพราะดูน่าตาสวยดี สีสันแปลกตา สร้างความเพลิดเพลินใจได้เป็นอย่างดี จึงเลี้ยงสืบต่อกันมาเรื่อย ๆ ทำให้มีการ แปรผันผันแปร และพัฒนาเรื่อยมา ประกอบกับความนิยมเลี้ยงที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ปลาทองที่เลี้ยงมีรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปรไป                                                                        

 เช่นแต่เดิมปลาทองจะหาอาหารตามบ่อน้ำธรรมชาติเพื่อเลี้ยงชีวิตซึ่งต้องออกเรี่ยวออกแรงไขมันส่วนเกินก็ไม่มี หุ่นก็เพรียวลม ครั้นย้ายนิวาสสถานมาอยู่ตามบ่อเลี้ยง อาหารปลาก็ถูกนำมาเสริฟกันถึงขอบบ่อ แถมเสริฟเป็นเวลาซะด้วย ทำให้ปลาทองบางตัวพุงป่องดูอ้วนตุ้ยนุ้ยขึ้นและหากลักษณะต่างๆดังกล่าวเกิดเป็นที่ประทับใจมนุษย์หรือคนดูคนชมว่าสวยแล้ว ก็จะถูกขุนขึ้นไปเรื่อยๆตามสูตร
ปลาทองถูกมนุษย์เลี้ยงมาตั้งแต่อดีต ประมาณ พ.ศ. 1161-1450 หรือนับเป็นพันปีมาแล้ว ปลาทองในสภาพธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกมนุษย์นำมาเลี้ยงนั้นก็ได้พัฒนาตัวเอง ทำมาหากินตามธรรมชาติ สืบทอดสายพันธ์มาจนถึงปัจจุบัน ก็แทบจะเป็นคนละปลาเดียวกันกับปลาทองของวันนี้เลย เพราะเมื่อพิจารณาดูจะพบว่าปลาใน ปลาตะเพียนทั้งหลายแหล่ต่างก็อยู่ในเทือกเขาเหล่าตระกูลเดียวกันกับปลาทอง คือ FAMILY CYYPRNDAE




Goldfish Lullaby - Broadtail Ryukins





                                                                                                     ha-fish

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Goldfish Variety

1.ลักเล่ห์และตาโปน(TELESCOPE EYE GOLDFISH)

 


ลักษณะเด่นของปลาทองพันธุ์นี้ก็คือ ตาของปลาจะยื่นโปนออกไปข้างหน้าจนดูคล้ายกับกล้องส่องทางไกล จึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Telescope Eyes” ลักษณะของตาปลาทองชนิดนี้ที่ดีควรจะต้องโต และตาสองข้างต้องมีขนาดเท่า ๆ กัน แก้วตาควรจะกลมไม่แบน

 ขนาดของปลาทองพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยยาวไม่เกิน นิ้ว จัดว่าเป็นปลาที่ค่อนข้างเปราะบางเลี้ยงยาก ดังนั้นจึงเป็นปลาที่ไม่เหมาะสำหรับนำเลี้ยงปลามือใหม่ที่จะนำไปเลี้ยง และเนื่องจากปลาทองชนิดนี้เป็นปลาที่มีสายตาใช้การได้ไม่ดีเท่าใดนัก จึงทำให้ปลามีประสาทในการดมกลิ่นดีกว่าพันธุ์อื่น ๆสำหรับปัญหาที่มักเกิดกับปลาทองเล่ห์ คือ ปลาทองชนิดนี้เมื่อมีอายุขัยมากขึ้นสีมักจะกลาย ทำให้ขาดความสวยงาม

จากการศึกษาค้นคว้าพอทราบว่าเหตุที่ปลาทองพันธุ์นี้มีชื่อว่า พันธุ์เล่ห์” เพราะเจ้าของร้านเล่ห์ประดิษฐ์ซึ่งเป็นผู้ผลิตแรกเก็ตไม้แบดมินตันเป็นผู้นำปลาทองชนิดนี้เข้ามาเลี้ยงและเผยแพร่ในเมืองไทย จึงเรียกปลาทองตาโปนที่สีดำนี้ว่า พันธุ์เล่ห์” ตั้งแต่นั่นเป็นต้นมา ซึ่งภายหลังแผลงกันจนเป็น “ปลาลักเล่ห์
2.เกล็ดแก้ว(PEARL SCALE GOLDFISH)


สำหรับประวัติความเป็นมาของปลาทองสายพันธุ์นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์ไม่ได้นำบันทึกการเพาะออกเผยแพร่ จึงไม่อาจสืบทราบประวัติที่มาของปลาทองสายพันธุ์นี้ได้ แต่โชคร้ายที่ถึงแม้ว่าปลาทองพันุ์เกล็ดแล้วจะเป็นปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้ในประเทศไทยเราเองก็ตาม แต่กลับเป็นปลาที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงในบ้านเรา เหตุผลเท่าที่ได้ฟังมาเป็นเพราะปลาทองพันุ์นี้เป็นปลาที่เกล็ดยื่นนูนออกมาทำให้แลดูไม่น่ารักแถมบางคนบอกดูแล้วน่าเกลียดมากกว่า แต่ถ้าพูดถึงความยากง่ายในการเลี้ยงแล้วปลาทองสายพันธ์นี้จัดอยุ่ในเกณฑ์ค่อนข้างเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะเป็นปลาที่เปราะบางและป่วยเป็นโรคได้ง่าย

สำหรับเทคนิคในการเลี้ยงก็ใช้หลักการเดียวกับการเลี้ยงปลาทองทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้มีผู้ทดลองเพาะพันธุ์ปลาทองพันธุ์นี้จนได้ปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทีรูปทรงแตกต่างออกไปมากมาย เช่นปลาทองเกล็ดแก้วชนิดหางสั้น ชนิดหางยาว ชนิดหัววุ้น และชนิดหัวมุก ฯลฯ และบ้างก็เน้นไปทางสีสันโดยการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีสีสันแปลกๆ ออกไป แต่จุดใหญ่คือการคงไว้ซึ่งเกล็ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

สำหรับปลาทองเกล็ดแก้วที่เป็นที่นิยมว่าสวยควรมีลำตัวกลมเหมือนลูกปิงปองเกล็ดบนลำตัวจะต้องอยู่ครบทุกเกล็ด เกล็ดที่ดีควรขึ้นเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวควรคอดเล็กแล้วปลายแหลม ส่วนหางควรเบ่งบานแต่จะยาวหรือสั้นก็พิจารณาตามสายพันธุ์ของปลาทองนั้นๆ สำหรับสีบนลำตัวเท่าที่นิยมเลี้ยงๆกัน โดยมากจะเป็นปลาที่มีสีขาวสลับแดงอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาที่มีสีขาวทั้งตัวเป็นปลาที่ ไม่สู้ได้รับความนิยมเท่าที่ควร  



3.ตาลูกโป่ง(BUBBLY EYE GOLDFISH)
  


ปลาทองพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีตาที่ใหญ่โตคล้ายมีลูกโป่งห้อยติดอยู่ที่ดวงตาทั้ง ข้าง ยามเมื่อปลาแหวกว่ายลูกโป่งทั้ง ข้าง จะกวัดแกว่งไปมาอย่างน่าหวาดเสียวว่ามันจะแตกหรือเปล่า ความยาวเมื่อโตเต็มที่ของปลาชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ นิ้ว โดยปกติทั่ว ๆ ไปปลาชนิดนี้จะมีสีขาว สีส้ม สีส้มสลับขาว และส้มเหลือง จัดว่าเป็นปลาที่มีสายตาไม่ค่อยดีนักและค่อนข้างเป็นปลาที่เปราะบาง เนื่องจากหากถุงลูกโป่งถูกกระทบกระแทกเพียงเล็กน้อยก็อาจแตกได้ ดังนั้นการเลี้ยงปลาชนิดนี้จำเป็นต้องอาศัยความละเอียดอ่อนและการเอาใจใส่ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกับปลาชนิดอื่น เพราะตาของมันอาจถูกปลาตัวอื่นตอดทำร้ายจนได้รับอันตรายได้

อันที่จริงแล้วปลาทองตาลูกโป่งจัดว่าว่ายน้ำได้เร็ว แต่เนื่องจากส่วนหัวของมันถูกถ่วงไว้ด้วยลูกโป่งจึงทำให้การว่ายน้ำไม่สู้สะดวกนัก โดยเฉพาะปลาที่มีลูกโป่งขนาดใหญ่มาก ๆ จะว่ายน้ำได้เชื่องช้าเป็นพิเศษ แต่ในทางตรงกันข้ามปลาที่มีตาลูกโป่งขนาดใหญ่มาก ๆ นั้น เป็นปลาที่มนุษย์จัดว่ามีคามสวยงามมากเป็นพิเศษ

ปลาชนิดนี้เมื่อมีอายุได้ 6-9 เดือน ถุงเบ้าตาก็จะเริ่มเจริญเติบโตให้เห็นเด่นชัด และเมื่ออายุได้ ปี ก็จะเจริญพันธุ์เต็มที่ ส่วนปัญหาที่มักเกิดกัปลาชนิดนี้ คือ อาการตกเลือดที่ถุงเบ้าตา วิธีแก้ก็โดยการใช้เข็มเจาะเอาเลือดที่ตกค้างอยู่ในนั้นออก จากนั้นไม่นานลูกโป่งก็จะหายเป็นปกติ ส่วนกรณีที่ตาลูกโป่งของปลาเกิดการกระทบกระแทกจนลูกโป่งแตก หากไม่รุนแรงนักปลาก็หายเป็นปกติในไม่ช้า แต่ถ้ากระแทกอย่างรุนแรงปลาอาจตายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วงการดูดเปลี่ยนน้ำไม่ควรให้ปลาว่ายเข้าใกล้ท่อดูดน้ำมากนักเพราะลูกโป่งอาจถูกท่อดูดจนแตกได้

อ่างที่ใช้เลี้ยงควรเป็นอ่างที่มีปากอ่างกว้างเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาว่ายไปชนถูกขอบอ่างจนทำให้ปลาได้รับบาดเจ็บ สำหรับระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงก็ไม่ควรต่ำกว่า นิ้ว แต่ไม่ควรสูงเกินกว่า นิ้ว เพราะถ้าหากระดับน้ำสูงเกินไปจะทำให้ปลาเสียการทรงตัวได้ง่าย และลูกโป่งจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันหาก ระดับน้ำต่ำมากเกินไปก็อาจทำให้ถุงน้ำเบ้าตาถูถูกพื้นอ่างอยู่เสมอ ๆ จนเป็นเหตุให้ถุงอาจแตก

                                                          ขอขอบคุณ ข้อมูล จาก นิตยสาร THE fish max
                                                                              The fish max magazine


                                                                                          ha-fish

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Goldfish Variety II

1.วะคิน(WAKIN GOLDFISH)


ปลาทองที่มีลักษณะเหมือนปลาคาร์พที่เรียกกันว่า วะคิน นี้ ถูกเพาะพันธุ์ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อราวศตวรรษที่ 15 หลายคนบอกว่า วะคิน นั้น มีความเป็นปลาคาร์พ มากกว่า ปลาทอง  เนื่อจากลักษณะรูปร่างที่ยาว แบนข้าง มีครีบหลัง เหมือนกับปลาตระกูลดั้งเดิมที่เรียกว่า FUNA จัดเป้นปลาที่อยู่ในครอบครัว CYPRINIDAE ซึ่งเป็นครอบครัวเดียวกันกับ ปลาไน บรรพบุรุา แฟนซีคาร์พ ที่รู้จักกันดี
 ปลาทองวะคินที่นิยมเลี้ยงกันนั้นจะมีเพียงสีเดียวคือ สีขาวตัดกับสีแดง





2.ยิคิน หรือ จิคิน (JIKIN GOLDFISH)

ปลาทองยิคินเป็นปลาทองที่ผสมคัดพันธุ์จากปลาทองวะคิน ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อประมาณ
200 กว่าปีมาแล้ว ได้ปลาทองที่มีรูปทรงเรียวยาวกว่าเล็กน้อย มุมปากงุ้มขึ้น แต่ความแตก
ต่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ส่วนห่างที่แผ่กว้างออกไปคล้ายหางนกยูงรำแพน จึงได้ชื่อเป็นฝรั่งว่า ปลาทองหางนกยูง
ลักษณะที่ถือว่าเป็นเอกลักษณะของปลายิคินก็คือ
ครีบหางเมื่อมองจากด้านท้ายจะเป็นตัวอักษร x หางที่จัดว่าสวยครีบของหางทั้งสองข้างจะต้อง
ได้สัดส่วนสมดุลกัน และกางออกจนตั้งฉากกับลำตัว ส่วนลำตัวเป็นสีขาวหรือสีมุกโดยตลอด
ครีบทุกครีบรวมทั้งครีบหางมีสีแดงปลาทองยิคินเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ได้ยาก เนื่องจากลูกปลาที่เพาะได้ส่วนใหญ่หางจะเป็นรูปตัว v แทนที่จะเป็นรูปตัว x ซึ่งจะถูกคัดออกเป็นปลาพิการไม่มีราคา เหลือปลาที่สมบูรณ์นั้นน้อยมาก อีกทั้งลูกปลาที่คัดไว้จะขึ้นสีสมบูรณ์ก็ต้องใช้เวลา
ประมาณ 3 เดือน นักเพาะพันธุ์ปลาทองบ้านเราจึงไม่นิยมเพาะปลาทองสายพันธุ์นี้ เพราะไม่คุ้มกับการลงทุนแต่ก็อาจจะมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศแต่ก็มีราคาค่อนข้าง สูงจึงมีการเลี้ยงอยู่ในวงจำกัด



3. นันคิน(NANKIN GOLDFISH)


  
 
ปลาทองนันคิน เป็นปลาทองในตระกูลสิงห์ ที่เก่าแก่สายพันธุ์หนึ่ง สืบสายเลือดโดยตรงมาจาก ปลาทอง มารุกุ
(บรรพบุรุษของปลาทองหัวสิงห์ในปัจจุบัน
) ญี่ปุ่นได้ทำการเพาะพันธุ์ปลาทองชนิดนี้มานาน หลายร้อยกว่าปีแล้ว
และปัจจุบันก็ยังคงมีการเพาะพันธุ์กันอยู่
ปลาทองนันคิน เป็นปลาทองที่ไม่มีครีบหลัง ลำตัวยาว มีลักษณะคล้ายลูกรักบี้ หน้ามีวุ้นน้อย จัดเป็นปลาทองที่เห็นได้ไม่บ่อยนักในบ้านเรา





4.ชูบันคิน  หรือ ชูบุงกิน(SHUBUNKIN GOLDFISH)
 
 

ปลาทองชูบันคิน เป็นปลาทองหลงสำรวจอีกชนิดหนึ่ง ที่พบเห็นได้ยากในบ้านเรา ชูบันคินนั้นถือกำเนิดครั้งแรกที่ประเทสญี่ปุ่นราวๆ ศตวรรษที่ 19 โดยฝีมือผู้เพาะพันธุ์ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า kichigoro akiyama 
ในประเทสจีนนั้นเรียกว่า ชูเวน ชิน (chuwen-chin) ซึ่งแปลว่า ปลาคาร์พของคนจน
ปลาทองชูบันคินนั้นมีรูปร่าง ลักษณะ ลำตัวยาว แบนข้าง มีครีบหลัง มีใบหางเดี่ยวเหมือนกับปลาคาร์พ แต่ภายหลังได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีครีบหลัง และ ครีบหางที่ยาวและสวยงามมากขึ้น


                                      Shubunkin Goldfish 


                                                                       ขอขอบคุณ ข้อมูล จาก นิตยสาร THE fish max
                                                                                                       The fish max magazine


                                                                                                ha-fish