Goldfish Variety
1.ลักเล่ห์และตาโปน(TELESCOPE EYE GOLDFISH)
ขนาดของปลาทองพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยยาวไม่เกิน 6 นิ้ว จัดว่าเป็นปลาที่ค่อนข้างเปราะบางเลี้ยงยาก ดังนั้นจึงเป็นปลาที่ไม่เหมาะสำหรับนำเลี้ยงปลามือใหม่ที่จะนำไปเลี้ยง และเนื่องจากปลาทองชนิดนี้เป็นปลาที่มีสายตาใช้การได้ไม่ดีเท่าใดนัก จึงทำให้ปลามีประสาทในการดมกลิ่นดีกว่าพันธุ์อื่น ๆสำหรับปัญหาที่มักเกิดกับปลาทองเล่ห์ คือ ปลาทองชนิดนี้เมื่อมีอายุขัยมากขึ้นสีมักจะกลาย ทำให้ขาดความสวยงาม
จากการศึกษาค้นคว้าพอทราบว่าเหตุที่ปลาทองพันธุ์นี้มีชื่อว่า “พันธุ์เล่ห์” เพราะเจ้าของร้านเล่ห์ประดิษฐ์ซึ่งเป็นผู้ผลิตแรกเก็ตไม้แบดมินตันเป็นผู้นำปลาทองชนิดนี้เข้ามาเลี้ยงและเผยแพร่ในเมืองไทย จึงเรียกปลาทองตาโปนที่สีดำนี้ว่า “พันธุ์เล่ห์” ตั้งแต่นั่นเป็นต้นมา ซึ่งภายหลังแผลงกันจนเป็น “ปลาลักเล่ห์”
2.เกล็ดแก้ว(PEARL SCALE GOLDFISH)
สำหรับประวัติความเป็นมาของปลาทองสายพันธุ์นี้ยังไม่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้เพาะพันธุ์ไม่ได้นำบันทึกการเพาะออกเผยแพร่ จึงไม่อาจสืบทราบประวัติที่มาของปลาทองสายพันธุ์นี้ได้ แต่โชคร้ายที่ถึงแม้ว่าปลาทองพันุ์เกล็ดแล้วจะเป็นปลาทองที่เพาะพันธุ์ขึ้นได้ในประเทศไทยเราเองก็ตาม แต่กลับเป็นปลาที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงในบ้านเรา เหตุผลเท่าที่ได้ฟังมาเป็นเพราะปลาทองพันุ์นี้เป็นปลาที่เกล็ดยื่นนูนออกมาทำให้แลดูไม่น่ารักแถมบางคนบอกดูแล้วน่าเกลียดมากกว่า แต่ถ้าพูดถึงความยากง่ายในการเลี้ยงแล้วปลาทองสายพันธ์นี้จัดอยุ่ในเกณฑ์ค่อนข้างเลี้ยงยากสักหน่อย เพราะเป็นปลาที่เปราะบางและป่วยเป็นโรคได้ง่าย
สำหรับเทคนิคในการเลี้ยงก็ใช้หลักการเดียวกับการเลี้ยงปลาทองทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้มีผู้ทดลองเพาะพันธุ์ปลาทองพันธุ์นี้จนได้ปลาสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทีรูปทรงแตกต่างออกไปมากมาย เช่นปลาทองเกล็ดแก้วชนิดหางสั้น ชนิดหางยาว ชนิดหัววุ้น และชนิดหัวมุก ฯลฯ และบ้างก็เน้นไปทางสีสันโดยการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีสีสันแปลกๆ ออกไป แต่จุดใหญ่คือการคงไว้ซึ่งเกล็ดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สำหรับปลาทองเกล็ดแก้วที่เป็นที่นิยมว่าสวยควรมีลำตัวกลมเหมือนลูกปิงปองเกล็ดบนลำตัวจะต้องอยู่ครบทุกเกล็ด เกล็ดที่ดีควรขึ้นเรียงเป็นระเบียบ ส่วนหัวควรคอดเล็กแล้วปลายแหลม ส่วนหางควรเบ่งบานแต่จะยาวหรือสั้นก็พิจารณาตามสายพันธุ์ของปลาทองนั้นๆ สำหรับสีบนลำตัวเท่าที่นิยมเลี้ยงๆกัน โดยมากจะเป็นปลาที่มีสีขาวสลับแดงอยู่ในตัวเดียวกัน ปลาที่มีสีขาวทั้งตัวเป็นปลาที่ ไม่สู้ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
3.ตาลูกโป่ง(BUBBLY EYE GOLDFISH)
ปลาทองพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีตาที่ใหญ่โตคล้ายมีลูกโป่งห้อยติดอยู่ที่ดวงตาทั้ง 2 ข้าง ยามเมื่อปลาแหวกว่ายลูกโป่งทั้ง 2 ข้าง จะกวัดแกว่งไปมาอย่างน่าหวาดเสียวว่ามันจะแตกหรือเปล่า ความยาวเมื่อโตเต็มที่ของปลาชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ 6 นิ้ว โดยปกติทั่ว ๆ ไปปลาชนิดนี้จะมีสีขาว สีส้ม สีส้มสลับขาว และส้มเหลือง จัดว่าเป็นปลาที่มีสายตาไม่ค่อยดีนักและค่อนข้างเป็นปลาที่เปราะบาง เนื่องจากหากถุงลูกโป่งถูกกระทบกระแทกเพียงเล็กน้อยก็อาจแตกได้ ดังนั้นการเลี้ยงปลาชนิดนี้จำเป็นต้องอาศัยความละเอียดอ่อนและการเอาใจใส่ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรเลี้ยงปลาชนิดนี้รวมกับปลาชนิดอื่น เพราะตาของมันอาจถูกปลาตัวอื่นตอดทำร้ายจนได้รับอันตรายได้
อันที่จริงแล้วปลาทองตาลูกโป่งจัดว่าว่ายน้ำได้เร็ว แต่เนื่องจากส่วนหัวของมันถูกถ่วงไว้ด้วยลูกโป่งจึงทำให้การว่ายน้ำไม่สู้สะดวกนัก โดยเฉพาะปลาที่มีลูกโป่งขนาดใหญ่มาก ๆ จะว่ายน้ำได้เชื่องช้าเป็นพิเศษ แต่ในทางตรงกันข้ามปลาที่มีตาลูกโป่งขนาดใหญ่มาก ๆ นั้น เป็นปลาที่มนุษย์จัดว่ามีคามสวยงามมากเป็นพิเศษ
ปลาชนิดนี้เมื่อมีอายุได้ 6-9 เดือน ถุงเบ้าตาก็จะเริ่มเจริญเติบโตให้เห็นเด่นชัด และเมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะเจริญพันธุ์เต็มที่ ส่วนปัญหาที่มักเกิดกัปลาชนิดนี้ คือ อาการตกเลือดที่ถุงเบ้าตา วิธีแก้ก็โดยการใช้เข็มเจาะเอาเลือดที่ตกค้างอยู่ในนั้นออก จากนั้นไม่นานลูกโป่งก็จะหายเป็นปกติ ส่วนกรณีที่ตาลูกโป่งของปลาเกิดการกระทบกระแทกจนลูกโป่งแตก หากไม่รุนแรงนักปลาก็หายเป็นปกติในไม่ช้า แต่ถ้ากระแทกอย่างรุนแรงปลาอาจตายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วงการดูดเปลี่ยนน้ำไม่ควรให้ปลาว่ายเข้าใกล้ท่อดูดน้ำมากนักเพราะลูกโป่งอาจถูกท่อดูดจนแตกได้
อ่างที่ใช้เลี้ยงควรเป็นอ่างที่มีปากอ่างกว้างเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาว่ายไปชนถูกขอบอ่างจนทำให้ปลาได้รับบาดเจ็บ สำหรับระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงก็ไม่ควรต่ำกว่า 6 นิ้ว แต่ไม่ควรสูงเกินกว่า 9 นิ้ว เพราะถ้าหากระดับน้ำสูงเกินไปจะทำให้ปลาเสียการทรงตัวได้ง่าย และลูกโป่งจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันหาก ระดับน้ำต่ำมากเกินไปก็อาจทำให้ถุงน้ำเบ้าตาถูถูกพื้นอ่างอยู่เสมอ ๆ จนเป็นเหตุให้ถุงอาจแตก
ขอขอบคุณ ข้อมูล จาก นิตยสาร THE fish max
ha-fish
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น